วันผู้สูงอายุสากล 2565
International Day of Older Persons
องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันผู้สูงอายุสากล” (International Day of Older Persons) โดยกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ต.ค. 1991 (พ.ศ.2534) เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของผู้สูงอายุที่ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยเองได้กำหนดให้ วันที่ 13 เมษายนของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันสงกรานต์ และวันปีใหม่ของไทย เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และ เป็นวันแรกสำหรับคนที่ครบกำหนดอายุเกษียณราชการในปีนี้ ไม่ต้องไปทำงานแล้ว หลายคนอาจจะยังปรับตัวไม่ทันหรือรู้สึกไม่คุ้นชิน
📌การเปลี่ยนแปลงชีวิตหลังวัยเกษียณมีอะไรบ้าง
1. บทบาทและหน้าที่ทางสังคม บทบาทและหน้าที่ในการทำงานนั้นจะหายไป สิ่งนี้ต้องอาศัยการปรับตัวกับบทบาทและหน้าที่ใหม่ หากไม่ได้วางแผนหรือมีบทบาทใหม่รองรับ อาจทำให้รู้สึกอ้างว้าง ขาดเป้าหมาย ขาดการมองเห็นคุณค่าในตัวเอง
2. สภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายตนเองเพราะเมื่อถึงวัยเกษียณ นั่นหมายถึงว่า เราได้เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ฉะนั้นต้องหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพตนเองให้มากขึ้น
3. การเข้าสังคม การเข้าสังคมกับเพื่อนร่วมงานนั้นน้อยลง อาจทำให้รู้สึกเหงา อ้างว้าง ถ้าหากกลุ่มเพื่อนส่วนใหญ่เป็นเพื่อนร่วมงาน
4. การเงิน การใช้เงินหลังเกษียณอาจมีปัญหา หากไม่มีการวางแผนการใช้เงินก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ เพราะเมื่อถึงวัยเกษียณแล้วรายได้หลักจากการทำงานนั้นจะหายไป อาจได้เงินจากการเกษียณมาก้อนหนึ่งหรือได้เป็นเงินบำนาญ แต่ก็ต้องวางแผนการการออมเงินก่อนวัยเกษียณและวางแผนการประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าเลี้ยงชีพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายทั่วไป และการเข้าสังคม ซึ่งอาจเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางกันกับรายได้ที่ลดลง
5. การดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องด้วยเวลาในการทำงานนั้นขาดหายไปทำให้เหลือเวลาว่างเกิดขึ้นมากมาย
6. ครอบครัว การเข้าสู่วัยเกษียณนั้น สิ่งที่ตามมา คือ การเปลี่ยนบทบาทในครอบครัวจากคนที่หารายได้เข้ามาในบ้านหรือเป็นเสาหลักภายในบ้านกลายมาเป็นวัยผู้สูงอายุในบ้าน โดยอาจมีหน้าที่ที่แตกต่างไป เช่น ดูแลบ้าน อบรมเลี้ยงดูลูกหลานและรู้หรือไม่ว่า โรคที่มักจะพบบ่อยในผู้สูงอายุ นอกจากโรคทางกายที่มักจะพบบ่อยแล้ว โรคทางจิตใจก็พบบ่อยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม เป็นต้น
😡 แนวทางการสังเกต ภาวะสมองเสื่อม
🤦♀️ ความจำระยะสั้นไม่ดี เช่น ลืมสิ่งของ ลืมวันนัดหมาย
💬 ปัญหาทางด้านการใช้ภาษา เช่น การเรียกชื่อคนที่คุ้นเคยไม่ถูก
🏠 มีปัญหาในด้านทิศทางและสิ่งแวดล้อม เช่น การขับรถและหลงทางในที่ ๆ เคยไป
😕 มีความผิดปกติในการทำงานที่ซับซ้อน เช่น การวางแผนการทำงาน การเดินทาง การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
😤 มีความผิดปกติของอารมณ์และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น หงุดหงิด ก้าวร้าว มีความเชื่อที่ผิดแปลก
🧐 การวินิจฉัยโรค
1. มีความผิดปกติด้านความจำ 🤦♀️
2. มีความผิดปกติอย่างน้อง 1 อย่างในสิ่งเหล่านี้ :- 😖
💬 ความผิดปกติของการใช้ภาษา เช่น นึกคำพูดไม่ออก ความเข้าใจภาษาลดลง
🚶♀️ สูญเสียทักษะในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การแปรงฟัน หวีผม โดยไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ
😵 ไม่รับรู้สิ่งที่เคยรู้มาก่อน เช่น การเห็นหน้าคนที่คุ้นเคยแต่นึกชื่อไม่ออก
🙄 ความผิดปกติในการบริหารจัดการ เช่น ความผิดปกติในการวางแผนการตัดสินใจ จัดระบบงาน เรียงลำดับงาน
3. ความผิดปกติในข้อ 1 และ 2 ส่งผลกระทบต่อความสามารถทางสังคมและอาชีพ และมีความสามารถที่ลดลงจากเดิม 😖😖
4. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ในช่วงที่กำลังมีภาวะซึมเศร้า สับสนแบบเฉียบพลัน 🙄🙄
5. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสาเหตุอื่นๆ 💬💬
🧠 สมองเสื่อมป้องกันได้ โดย :-
🤾♀️ หมั่นออกกำลังกาย เช่น เดิน ทำงานบ้าน 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3-5 วัน
🍽 เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม เลี่ยงอาหาร หวาน มัน เค็ม จัด ควรทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา
🛌 นอนหลับอย่างเพียงพอ
🎼 ทำกิจกรรมที่เสริมการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เช่น การใช้ social media การซื้อสินค้า/บริการ ออนไลน์
💬 สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้วยการพูดคุย
✌ ทำจิตจิตใจให้เบิกบาน ไม่เครียด
❌ งดการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า
🩺 ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
💊 เลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ง่วงซึม หรือกดการทำงานชองสมอง
👀 ระวังการเกิดอุบัติเหตุ ลื่น หก ตก ล้ม ทางร่างกาย และศีรษะ