3 11 2019 National Disability Day

          คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม💔 ก็เป็นหนึ่งในคนพิการ ที่มีความบกพร่องหรือผิดปกติของความคิด อารมณ์ พฤติกรรม เป็นการเจ็บปวยเรื้อรัง มีโอกาสป่วยซ้ำได้ง่าย จึงมีข้อจำกัดในการดูแลตนเอง ต้องได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่น 👎ถูกสังคมตีตราและมีทัศนคติที่ไม่ดี ทำให้คนพิการทางจิตใจจึงรู้สึกด้อยค่า ขาดความมั่นใจ รู้สึกว่าสังคมรอบตัวไม่ยอมรับ เกิดการแยกตัวจากสังคม😥

👨‍👨‍👧‍👦ครอบครัว ญาติ หรือผู้ดูแล สามารถช่วยดูแลคนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรมได้ดังนี้
          🚿#ช่วยให้คนพิการดูแลตนเอง โดยมอบหมายให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น
          ⏰กำหนดเวลาการตื่นนอน และเข้านอน
          🧺ให้ทำงานที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่ขับซ้อน เช่น ซักผ้า รดน้ำตั้นไม้ ล้างรถ
          👍เมื่อทำได้สำเร็จ ควรชื่นชมหรือให้กำลังใจ จะได้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ ถ้าไม่ทำหรือทำไม่สำเร็จ ควรกระตุ้นด้วยคำพูดที่อ่อนโยน 🚫ไม่ดุด่าหรือข่มขู่
          🚶‍♂️เปืดโอกาสให้ไปร่วมงานกับญาติหรือเพื่อนบ้าน เพื่อฝึกทักษะทางสังคม
          🚫หลีกเลี่ยงงานที่แข่งขันเพราะจะทำให้คับข้องใจมากขึ้น
          💬เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นเรื่องงานบ้านหรือเรื่องทั่วไป

          🔍คอยสังเกตอาการกำเริบ ได้แก่ รู้สึกตึงเครียด ไม่ยอมกินยา สับสน หวาดระแวง เบื่ออาหาร ไม่ยอมนอน ประสาทหลอน หูแว่ว แยกตัวหรือเก็บตัวเงียบ ซึ่งอาการกำเริบจะเกิดจากการกินยาไม่ครบ หรือขาดยา พักผ่อนไม่เพียงพอ เครียด และใช้สารเสพติด
          👀ถ้าเห็นว่าอาการกำเริบ ให้...
          ❓หาสาเหตุที่กระตุ้นให้อาการกำเริบ แล้วรีบหาทางแก้ไข
          💊ดูว่ากินยาตามที่หมอสั่งหรือไม่
          🩺ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อพิจารณาปรับยา
          🏩ถ้ามีอาการรุนแรง ให้รีบพาไปพบจิตแพทย์

          😀ลดความเครียด ไม่ความคาดหวังเกินความสามารถที่คนพิการจะทำได้ และช่วยให้คนพิการให้ค่อย ๆ ปรับตัวเท่าที่ทำได้ 😤ถ้าคนพิการอารมณ์ไม่ดี หรือหงุดหงิด ซึ่งอาจเกิดจากอาการทางจิตหรือความคิดไม่ตรงกัน 🚫ไม่ควรโต้เถียง หรือต่อว่า ให้หลีกเลี่ยงไปก่อน รอให้อารมณ์สงบแล้วค่อยพูดกัน

🙏ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต และสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ