รู้จัก...รัก
รัก...โดยไม่คาดหวัง
รัก...ต้องรับฟัง และใส่ใจ
รัก...แล้วให้อภัย
รัก...แล้วต้องเย็นไว้ ประคับประคองความรัก
จากเหตุการณ์ครูอนุบาลโรงเรียนแห่งหนึ่ง ทำร้ายร่างกายนักเรียนที่เป็นข่าวในช่วงเวลานี้
พ่อ แม่ ผู้ปกครอง 🔍อย่าลืมสังเกตว่าเด็ก ๆ เคยถูกทำร้ายมาหรือไม่นะ⁉ ซึ่งเด็ก ๆ ที่เคยถูกทำร้าย มักจะมีนอนดูดนิ้ว ฝันร้ายบ่อย ๆ ปัสสาวะรดที่นอน เก็บตัว ไม่พูดไม่จา มีปัญหาการเรียน ไม่อยากไปเรียน ก้าวร้าวรุนแรง ซึมเศร้า 📌ถ้าเด็ก ๆ มีอาการดังกล่าว และรุนแรงมากขึ้น
ควรพาไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น🩺 🏩สามารถดูรายชื่อโรงพยาบาลได้ที่ http://bit.ly/2HZ2gnM
🙏ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และนายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์
#เด็ก #ทำร้ายเด็ก #ครูทำร้ายเด็ก #จิตใจ #สุขภาพใจ
ผมขอเสนอมุมมองทางจิตวิทยาที่น่าสนใจ ดังนี้
▶️ “เด็กที่ถูกทำร้าย” จะต้องได้รับการดูแลทางจิตใจ พร้อมไปกับครอบครัว ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีผลกระทบแตกต่างกัน การดูแลพื้นฐาน คือ การใส่ใจเด็กให้เค้าได้ทำกิจกรรมตามปกติ หากพบว่าเด็กมีอาการถดถอย เช่น ดูดนิ้ว ฝันร้าย ปัสสาวะรดที่นอน หรือมีปัญหาพฤติกรรมเก็บตัว ก้าวร้าว ต้องได้รับการดูแลจากจิตแพทย์เด็กและทีมสหวิชาชีพ
▶️ ปัญหานี้ควรได้รับการป้องกันทั่วทั้งระบบโรงเรียนไม่ใช่มุ่งแต่เอาผิดครูเป็นรายบุคคล วิธีการคือฝึกการดูแลเด็กด้วยวินัยเชิงบวก เช่น การทำกติกาชั้นเรียน การชื่นชมพฤติกรรมเชิงบวกการจำกัดพฤติกรรมเชิงลบ วิธีการที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ควรใช้เวลา 3-5 นาที ร่วมกับผู้ปกครองในการพัฒนาระบบดูแลนักเรียนให้มีคุณภาพ ด้วยการส่งเสริมวินัยในทางบวก หากพบว่าเด็กมีปัญหาหาอารมณ์หรือพฤติกรรมต้องส่งต่อให้ได้รับการค้นหาปัญหาและสาเหตุโดยผู้เชี่ยวชาญต่อไป
▶️ ครูในโรงเรียนเองก็ควรได้รับการดูแลให้ทำงานได้อย่างมีความสุขและเป็นมืออาชีพ รู้จักวิธีการจัดการกับอารมณ์และความเครียด หากมีปัญหาในการทำงานควรได้รับการให้คำปรึกษาเพื่อช่วยในการปรับตัว จากเหตุการณ์นี้ครูหลายท่านอาจจะขวัญเสียและสับสนควรได้รับการดูแลและพัฒนาเช่นกัน
▶️ บทเรียนที่เกิดขึ้นควรนำไปสู่การพัฒนาการดูแลเด็กปฐมวัยทั้งระบบไม่ว่าจะเป็นในศูนย์เด็กเล็ก หรือโรงเรียนอนุบาลโดยเฉพาะความสามารถในการจัดการชั้นเรียน ซึ่งต้องเป็นพื้นฐานของครู ทุกคน ทั้งการจัดการกับอารมณ์และความเครียดของตนเอง (เพราะจะส่งผลกับเค้า) และการสร้างวินัยเชิงบวกในห้องเรียนควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจมีคุณภาพ ร่วมไปกับการสื่อสารที่เหมาะสมกับวัยไม่ใช่ไปเร่งรัดการอ่านเขียนและถ่องจำ สำคัญที่สุดต้องทำงานร่วมกับครอบครัวอย่างใกล้ชิด
เครดิตภาพจาก The bangkok Insinght
กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตจะนำข้อมูลที่ “คุกกี้” ได้บันทึกหรือเก็บรวบรวมไว้ ไปใช้ในการวิเคราะห์เชิงสถิติ หรือในกิจกรรมอื่นของหน่วยงาน เพื่อ ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ อ่านเพิ่มเติม