Thaimentalhealth.com

ดูแลสุขภาพใจกันหน่อยนะ...เพราะสุขภาพใจก็สำคัญ

วันสุขภาพจิตโลก

สร้างสุขภาพจิตที่ดีเพื่อเราทุกคน

(World Mental Health Day 2022: Make mental health & well-being for all a global priority)

 

🌊 แนวทางดูแลจิตใจเบื้องต้นเมื่อประสบภัยพิบัติ 🌊

💡 ตั้งสติ และคิดว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความท้ายทายของชีวิต ทำจิตใจให้อยู่กับปัจจุบัน

✌️ ยอมรับและเผชิญความจริงเพื่อแก้ไขปัญหา คิดหาวิธีการแก้ปัญหาทีละขั้นตอนตามความจำเป็น นึกถึงความปลอดภัยของชีวิตเป็นสำคัญ

🗣 ขอความช่วยเหลือจากเครือข่ายและร่วมกันแก้ปัญหา

🧘🏽 หาวิธีผ่อนคลายความเครียดด้วยต้นเอง เช่น การหายใจคลายเครียด นวดคลายเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

👨‍👩‍👧‍👦 ดูแลเด็กในบ้าน ให้ความใส่ใจ ให้เขามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และมีกิจกรรมร่วมกัน

🍺 หลีกเลี่ยงการใช้สุรา ยาเสพติด

💊 กรณีผู้ป่วยจิตเวช ห้ามขาดยา เพราะอาจจะทำให้อาการกำเริบได้

👩🏻‍🚒 ติดต่อหน่วยงานในพื้นที่ ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยช่วย

📞 หากอาการต่าง ๆ ยังไม่ดีขึ้น เช่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ใจสั่น ให้ปรึกษาหน่วยบริการสุขภาพจิตในพื้นที่ หรือโทรสายด่วน 1323

📌 สายด่วน-เบอร์ฉุกเฉิน ขอความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วม 📌

📞 ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัยน้ำท่วม โทร. 1111 กด 5

📞 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สายด่วนแจ้งเตือนสาธารณภัย โทร. 1784

📞 ร่วมด้วยช่วยกัน ประสานความช่วยเหลือ โทร. 1677

📞 สภากาชาดไทย สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัย ช่วยเหลือสาธารณภัย โทร. 1664

📞 บริการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นำส่งโรงพยาบาล กู้ชีพ โทร. 1669

📞 แจ้งเหตุ-ขอความช่วยเหลือเหตุน้ำท่วม ผ่าน SMS ทุกเครือข่ายฟรี 4567892

📞 สวพ.91 สำหรับแจ้งเหตุ และขอความช่วยเหลือ  โทร. 1644

📞 จส.100 สำหรับแจ้งเหตุ และขอความช่วยเหลือ โทร. 1137

📞 สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586

📞 กรมสุขภาพจิต โทร. 1323

📞 การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โทร. 1130

📞 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โทร. 1129

          หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่บอกว่า การฆ่าตัวตายคือฟางเส้นสุดท้ายของการแก้ปัญหาในชีวิต แต่..การที่ใครสักคนจะฆ่าตัวตายนั้นเป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้ เพราะได้ผ่านการคิดมาก่อนแล้วว่าจะฆ่าตัวตาย แต่ถ้าหากมองลึกลงไปฟางเส้นสุดท้ายก่อนที่จะฆ่าตัวตายนั้น อาจจะมีทางออกอีกหลายทางอยู่ที่ปลายของเส้นฟางนั้นก็เป็นได้  การสังเกตบุคคลก่อนที่จะฆ่าตัวตาย และจะพามองถึงทางออกของฟางเส้นสุดท้าย ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ก่อนว่า คำว่า multivers ในที่นี้เราจะให้ความหมายว่า....เราอีกคน ในอีกหนึ่ง ในช่วงเวลา หรือ ในช่วงสถานการณ์ เมื่อเข้าใจแล้วเรามามองลึกลงไปที่ฟางเส้นสุดท้ายของเราดูว่ามี multiverses อะไรที่จะเกิดขึ้นได้บ้าง ให้เริ่มตั้งคำถามต่าง ๆ ขึ้นมา ด้วยคำว่า “ถ้า” เช่น ถ้าเราทำไป คนที่เกี่ยวข้องกับเราเค้าจะอยู่ได้ไหม พ่อ แม่ ลูก เค้าจะอยู่ได้หรือป่าว❓ ถ้าเราทำไป หนี้สินที่มีอยู่มันจะหมดตามเราไปไหม❓ หรือว่าเราคิดแล้วว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เรามืดแปดด้านไม่มีทางออกแน่ ๆ ให้เราหาเพื่อนสักคนปรึกษา และคนที่รับปรึกษาควรเป็นที่ปรึกษาที่ดี ให้คำแนะนำ ถ้าหากได้คำตอบจากตัวเรา และได้ปรึกษากับที่ปรึกษาแล้วบางครั้งช่วงเวลาระหว่างการปรึกษาทำให้เราได้ทบทวนอีกครั้งก่อนที่จะคิดทำอะไรลงไป เพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบ เท่านั้น ขอให้ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า “ทุกปัญหามักจะมีทางออกสำหรับมันเสมอ”  

          และเราจะช่วยคนที่มีความคิดจะฆ่าตัวตายได้อย่างไร❓ นี่ก็คงเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนคงถามกันอยู่ในใจ ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตเคยระบุถึงสัญญาณของคนที่มีความคิดจะฆ่าตัวตายไว้ 10 ข้อ ไว้ดังนี้ :  

                1 ชอบพูดว่าอยากตาย หรือพูดสั่งเสียเป็นนัย ๆ  เช่น ขอบคุณที่ดูแลกันมา ขอโทษสำหรับทุกอย่าง ถ้าเราไม่อยู่แล้วดูแลตัวเองดีๆ นะ

หรือโพสต์ข้อความผ่านทาง Social Media ต่าง ๆ📱  

                2 มีปัญหาชีวิต เช่น ปัญหาทางด้านการเงิน พิการจากอุบัติเหตุแบบกะทันหัน การสูญเสียคนรัก 😩

                3 หน้าตาเศร้าหมอง และวิตกกังวล 😥

                4 ดื่มสุรา หรือ ใช้สารเสพติด หนักขึ้น 😖

                5 อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย 😡

                6 มีประวัติคนในครอบครัวเคยฆ่าตัวตาย 📄

                7 แยกตัวไม่พูดคุยกับใคร 🙊

                8 นอนไม่หลับเป็นเวลานาน 😴

                9 เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อนแล้ว 🔪

                10 มีการวางแผนฆ่าตัวตายไว้ล่วงหน้า 📝

          แล้วถ้าเราจับสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้ได้เราจะต้องทำอย่างไรดี❓ก็คงเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนอ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็อยากจะช่วยคนที่มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย แล้วจะทำอย่างไรเมื่อเห็นคนเสี่ยงฆ่าตัวตายเรา

          อย่างแรกเลยที่เราทำได้ คือไม่ควรตำหนิ ยุยง หรือท้าทาย แต่ว่าควรช่วยเหลือเขาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากว่าเราอยู่ใกล้ควรสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเขาด้วยการปลอบใจ และอยู่ข้าง ๆ เขา สอบถามว่าเขาเป็นอะไรมีปัญหาอะไรให้เขาได้ระบายออกมา เน้นเป็นผู้รับฟังที่ดี และฟังเขาให้มากที่สุดไม่ตัดสินถูกผิดในเรื่องที่เขาได้พูดออกมา สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือไม่ควรปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว เพราะเขาอาจจะทำร้ายตัวเองได้ตลอดเวลา และพาไปพบจิตแพทย์ ถ้าเขามีอาการซึม เก็บตัว บ่นอยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายอีกครั้ง

          การที่จะช่วยเหลือใครสักคนหนึ่งให้ผ่านพ้นอุปสรรคไม่ใช่เรื่องยากเลยสักนิด เพียงแค่เรา ยึดหลัก 3ส คือ สอดส่อง🔍 ใส่ใจรับฟัง💖 และส่งต่อ🏣 อาจจะยาวไปสักหน่อย แต่อาจจะช่วยให้ใครสักคนเป็นคนรับฟังที่ดีเพื่อช่วยสังคม และฉุกคิดได้ว่าเราไม่ควรที่จะพลั้งมือฆ่าตัวตาย เพราะยังมีอีกหลาย ๆ multiverses ที่จะได้รับผลกระทบจากการคิดฆ่าตัวตาย ท้ายสุดนี้ ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ในเรื่อง 10 สัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตาย บัย!!!

วันผู้สูงอายุสากล 2565

International Day of Older Persons

                       องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันผู้สูงอายุสากล” (International Day of Older Persons) โดยกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ต.ค. 1991 (พ.ศ.2534) เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของผู้สูงอายุที่ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยเองได้กำหนดให้  วันที่ 13 เมษายนของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันสงกรานต์ และวันปีใหม่ของไทย เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และ เป็นวันแรกสำหรับคนที่ครบกำหนดอายุเกษียณราชการในปีนี้ ไม่ต้องไปทำงานแล้ว หลายคนอาจจะยังปรับตัวไม่ทันหรือรู้สึกไม่คุ้นชิน

📌การเปลี่ยนแปลงชีวิตหลังวัยเกษียณมีอะไรบ้าง

                       1. บทบาทและหน้าที่ทางสังคม บทบาทและหน้าที่ในการทำงานนั้นจะหายไป สิ่งนี้ต้องอาศัยการปรับตัวกับบทบาทและหน้าที่ใหม่ หากไม่ได้วางแผนหรือมีบทบาทใหม่รองรับ อาจทำให้รู้สึกอ้างว้าง ขาดเป้าหมาย ขาดการมองเห็นคุณค่าในตัวเอง

                       2. สภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายตนเองเพราะเมื่อถึงวัยเกษียณ นั่นหมายถึงว่า เราได้เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ฉะนั้นต้องหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพตนเองให้มากขึ้น

                       3. การเข้าสังคม การเข้าสังคมกับเพื่อนร่วมงานนั้นน้อยลง อาจทำให้รู้สึกเหงา อ้างว้าง ถ้าหากกลุ่มเพื่อนส่วนใหญ่เป็นเพื่อนร่วมงาน

                       4. การเงิน การใช้เงินหลังเกษียณอาจมีปัญหา หากไม่มีการวางแผนการใช้เงินก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ เพราะเมื่อถึงวัยเกษียณแล้วรายได้หลักจากการทำงานนั้นจะหายไป อาจได้เงินจากการเกษียณมาก้อนหนึ่งหรือได้เป็นเงินบำนาญ แต่ก็ต้องวางแผนการการออมเงินก่อนวัยเกษียณและวางแผนการประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าเลี้ยงชีพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายทั่วไป และการเข้าสังคม ซึ่งอาจเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางกันกับรายได้ที่ลดลง

                       5. การดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องด้วยเวลาในการทำงานนั้นขาดหายไปทำให้เหลือเวลาว่างเกิดขึ้นมากมาย

                       6. ครอบครัว การเข้าสู่วัยเกษียณนั้น สิ่งที่ตามมา คือ การเปลี่ยนบทบาทในครอบครัวจากคนที่หารายได้เข้ามาในบ้านหรือเป็นเสาหลักภายในบ้านกลายมาเป็นวัยผู้สูงอายุในบ้าน โดยอาจมีหน้าที่ที่แตกต่างไป เช่น ดูแลบ้าน อบรมเลี้ยงดูลูกหลานและรู้หรือไม่ว่า โรคที่มักจะพบบ่อยในผู้สูงอายุ นอกจากโรคทางกายที่มักจะพบบ่อยแล้ว โรคทางจิตใจก็พบบ่อยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม เป็นต้น

😡 แนวทางการสังเกต ภาวะสมองเสื่อม

                      🤦‍♀️ ความจำระยะสั้นไม่ดี เช่น ลืมสิ่งของ ลืมวันนัดหมาย

                      💬 ปัญหาทางด้านการใช้ภาษา เช่น การเรียกชื่อคนที่คุ้นเคยไม่ถูก 

                      🏠 มีปัญหาในด้านทิศทางและสิ่งแวดล้อม เช่น การขับรถและหลงทางในที่ ๆ เคยไป

                      😕 มีความผิดปกติในการทำงานที่ซับซ้อน เช่น การวางแผนการทำงาน การเดินทาง การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

                      😤 มีความผิดปกติของอารมณ์และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น หงุดหงิด ก้าวร้าว มีความเชื่อที่ผิดแปลก

🧐 การวินิจฉัยโรค

                       1. มีความผิดปกติด้านความจำ 🤦‍♀️

                       2. มีความผิดปกติอย่างน้อง 1 อย่างในสิ่งเหล่านี้ :- 😖

                            💬 ความผิดปกติของการใช้ภาษา เช่น นึกคำพูดไม่ออก ความเข้าใจภาษาลดลง

                            🚶‍♀️ สูญเสียทักษะในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การแปรงฟัน หวีผม โดยไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ

                            😵 ไม่รับรู้สิ่งที่เคยรู้มาก่อน เช่น การเห็นหน้าคนที่คุ้นเคยแต่นึกชื่อไม่ออก

                            🙄 ความผิดปกติในการบริหารจัดการ เช่น ความผิดปกติในการวางแผนการตัดสินใจ จัดระบบงาน เรียงลำดับงาน

                       3. ความผิดปกติในข้อ 1 และ 2 ส่งผลกระทบต่อความสามารถทางสังคมและอาชีพ และมีความสามารถที่ลดลงจากเดิม 😖😖

                       4. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ในช่วงที่กำลังมีภาวะซึมเศร้า สับสนแบบเฉียบพลัน 🙄🙄

                       5. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสาเหตุอื่นๆ 💬💬

🧠 สมองเสื่อมป้องกันได้ โดย :-

                      🤾‍♀️ หมั่นออกกำลังกาย เช่น เดิน ทำงานบ้าน 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3-5 วัน

                      🍽 เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม เลี่ยงอาหาร หวาน มัน เค็ม จัด ควรทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา

                      🛌 นอนหลับอย่างเพียงพอ

                      🎼 ทำกิจกรรมที่เสริมการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เช่น การใช้ social media การซื้อสินค้า/บริการ ออนไลน์

                      💬 สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้วยการพูดคุย

                      ✌ ทำจิตจิตใจให้เบิกบาน ไม่เครียด

                      ❌ งดการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า

                      🩺 ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

                      💊 เลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ง่วงซึม หรือกดการทำงานชองสมอง

                      👀 ระวังการเกิดอุบัติเหตุ ลื่น หก ตก ล้ม ทางร่างกาย และศีรษะ

ig 2 9 63 V2 No logo 01
          หลายคนเครียดจากปัญหาการเมือง😤 ซึ่งอาการดังกล่าวถือว่าเป็นปฏิกิริยาการตอบสนองของจิตใจต่อสิ่งเร้า (ปัญหาการเมือง) มักจะเกิดกับคนที่สนใจปัญหาทางการเมือง หรือติดตามสถานการณ์การเมืองมาก ๆ

จะมีอาการ หรือพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

          😖ร่างกาย
- ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอ หรือตามแขน ขา
- นอนไม่หลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ
- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทั้งที่อยู่ในสภาพปกติ
- หายใจไม่อิ่มท้อง อึดอัดในช่องท้อง
- แน่นท้อง ปวดท้อง
- ชาตามร่างกาย

          💔จิตใจ
- ไม่มีสมาธิ คิดฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป
- วิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา
- หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ฉุนเฉียว ก้าวร้าว
- เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก

          😡พฤติกรรม
- โต้เถียงกับผู้อื่น หรือแม้แต่คนในครอบครัว โดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลางจนถึงรุนแรง โดยไม่สามารถยับยั้งตนเองได้
- มีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ
- ลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อตอบโต้

          👉ถ้ามีอาการดังกล่าว แนะนำให้รีบจัดการความเครียด โดยใช้เทคนิคดังต่อไปนี้
          🧐หันเหหรือลดความสนใจเรื่องทางการเมืองลงบ้าง
          📺ลดการเสพข้อมูลเกี่ยวกับการเมือง หรือปัญหาการเมือง
          💬หาทางระบายออก โดยเลือกระบายกับคนที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน
          🚶‍♀️ออกไปใช้ชีวิต และออกกำลังกาย
          🤦‍♀️ฝึกผ่อนคลายความเครียด เช่น

ฝึกสมาธิ

ฝึกหายใจ


ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ



          📌และถ้ามีอาการทั้งหมดเกินกว่า 1 สัปดาห์ หรือพบว่าอาการเริ่มรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งได้ลองจัดการกับความเครียดด้วยต้นเองแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น 🩺ควรหาเวลาไปพบและปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษาต่อไป

🙏ข้อขอบคุณข้อมูลจาก : คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา
#เครียด #การเมือง #ปัญหาการเมือง #ประชาธิปไตย #สุขภาพใจ #ดูแลสุขภาพใจ